ในเมนูชุดคำสั่งนี้จะเป็นการตั้งค่าคาแรคเตอร์และข้อมูลพื้นฐานของตัวแชตบอตเพื่อให้ตอบคำถามได้แบบมีเอกลักษณ์ในแบบที่เราต้องการได้
สำหรับการตั้งค่าในเมนู “ชุดคำสั่ง” จะมีการตั้งค่าทั้งหมด 3 ส่วนหลักๆด้วยกันคือ
1. การตั้งค่า “ข้อความต้อนรับ” และ “คำถามเริ่มบทสนทนา” สำหรับหน้าเว็บแชตบอต
2. การ “ตั้งค่าบอท” เพื่อสร้างเอกลักษณ์และคาแรคเตอร์ในการตอบคำถาม
3. การตั้งค่า “ตัวเลือกเพิ่มเติม” เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการตอบคำถามที่หน้าเว็บไซต์
เมื่อเราตั้งค่า “ชุดคำสั่ง” แล้วก็จะทำให้บอทของคุณมีเอกลักษณ์ในการตอบ หรือบุคลิกในการตอบคำถามได้มากขึ้นแบบนี้..
เรามาดูกันดีกว่าว่าถ้าอยากได้แชตบอต แต่ละส่วนจะมีหน้าตาการตั้งค่าอย่างไรบ้าง?
1. “ข้อความต้อนรับ” และ “คำถามเริ่มบทสนทนา”
คือ ข้อความที่แสดงในหน้าเว็บแชตบอตเมื่อผู้ใช้งานเข้ามาในหน้าเว็บครั้งแรก หรือใช้เป็นการระบุข้อความอธิบายข้อมูลเบื้องต้นของแชตบอต
เช่น หน้าแชตบอตที่เรากำลังจะสร้างนี้เป็นแชตบอตที่เน้นการให้ข้อมูลเรื่องของ “การขายเครื่องกรอกน้ำ” ข้อความต้อนรับที่เราจะระบุ จะเป็นการแนะนำตัวว่าแชตบอตตัวนี้เป็น ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง “เครื่องกรองน้ำ” ที่กำลังรอให้บริการตอบคำถามที่ลูกค้าต้องการจะสอบถามเกี่ยวกับเครื่องกรองน้ำโดยเฉพาะ!!
ส่วน “คำถามเริ่มบทสนทนา” จะเป็นการไกด์ไลน์ตัวอย่างคำถามเริ่มต้นให้ลูกค้า โดยอาจจะสร้างตัวอย่างคำถามเป็นคำถามที่พบบ่อย หรือเป็นคำถามที่บอตตัวนี้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ตามตัวอย่างบอตตัวนี้ก็จะสร้างตัวอย่างคำถามเป็น “รุ่นไหนขายดีสุด” / “อยากกรองน้ำกร่อยใช้รุ่นไหน” / “รับประกันกี่ปี” ที่สร้างมาจากคำถามที่พบบ่อยในการขายเครื่องกรองน้ำนั่นเอง!
(หมายเหตุ : คำถามเริ่มบทสนทนา จะสร้างได้สูงสุด 3 คำถามเท่านั้น แต่ไม่ต้องห่วงว่าจะน้อยไปหรือไม่พอใช้เพราะลูกค้าไม่จำเป็นต้องกดจากคำถามก็สามารถพิมพ์ถามเองได้เลยเช่นกัน😁)
2. การ “ตั้งค่าบอท”
คือ การระบุข้อมูลบอท โดยเป็นการสร้าง System Prompt เพื่อให้ระบบ ZPT นำข้อมูลมาเป็นบทบาทและลักษณะการตอบคำถามของแชทบอทได้เป็นเอกลักษณ์มากขึ้น หรือพูดง่ายๆคือสร้างตัวตน ลักษณะบุคคลิกของตัวละครบอทนั่นเอง!
การตั้งค่าบอทนั้นสามารถกำหนดได้ว่าอยากให้คาแรคเตอร์ของบอทนี้เป็นสำหรับการใช้ในธุรกิจ หรือการใช้แบบเป็นผู้ช่วยส่วนตัว
โดยหากต้องการให้บอทตัวนี้ใช้เป็นแนวการตอบแบบเชิงธุรกิจ เช่น การขายสินค้าหรือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทของคุณ ก็สามารถเลือกใช้เป็นแบบธุรกิจได้เลย
แต่ถ้าคุณต้องการให้บอทตัวนี้เป็นบอทที่ช่วยตอบคำถามในเชิงส่วนตัว หรือให้ความรู้ทั่วไปแบบไม่ได้เน้นขายสินค้า หรือแนะนำเกี่ยวกับธุรกิจของคุณโดยเฉพาะก็สามารถเลือกเป็นแบบส่วนตัวได้เลยนะ
ยกตัวอย่างเช่น
- อยากได้บอทเป็นผู้ช่วยเรื่องการแนะนำวิธีการออกกำลังกาย
- อยากได้บอทเป็นบอทที่เป็นเชฟแนะนำเรื่องสูตรอาหารโดยเฉพาะ
หรือจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอื่นๆโดยเฉพาะ ก็ใช้เป็นแบบส่วนตัวได้เลย
สำหรับในส่วนของการเลือกเป็น “เบื้องต้น” หรือ “ขั้นสูง”
- หากต้องการระบุตามหัวข้อแบบชัดเจนก็ใช้การระบุเป็น “เบื้องต้น”
- แต่ถ้าอยากระบุแบบละเอียดหรือการบรรยายสามารถใช้แบบ “ขั้นสูง” ได้เลย
3. การตั้งค่า “ตัวเลือกเพิ่มเติม“
คือ การระบุเงื่อนไขอื่นๆเกี่ยวกับการตอบคำถามของบอท
โดยประกอบไปด้วย
1. การใช้เฉพาะคลังความรู้ : คือการบังคับให้แชตบอต นำข้อมูลคำตอบมาจากข้อมูลในหน้า “คลังความรู้” หรือเป็นสิ่งที่เราใส่ข้อมูลเข้าไปเท่านั้น ห้ามตอบนอกเหนือจากข้อมูลตรงนี้
เคล็ดลับ : หากเป็นการใช้งานในรูปแบบการขายสินค้าเฉพาะธุรกิจของคุณแนะนำให้เปิดการใช้งานข้อนี้เพื่อไม่ให้แชตบอตตอบข้อมูลนอกเหนือจากข้อมูลที่เราต้องการให้ตอบ
2. ไม่ตอบหากคำถามยาวเกิน 100 ตัวอักษร : คือการให้แชตบอตตรวจสอบจำนวนตัวอักษรของผู้ถามก่อนว่าเกิน 100 ตัวอักษรหรือไม่ หากเกินจะไม่ตอบคำถามนั้นๆ
เคล็ดลับ : เพื่อควบคุมการหักโควตาจากคำถาม กรณีที่ลูกค้าถามยาวเกิน 100 ตัวอักษร อาจจะทำให้ระบบต้องตอบกลับคำถามและหักโควตาเพิ่มขึ้น
3. ไม่ตอบแชทคนเดิมซ้ำเมื่อครบ…ครั้ง/วัน : คือการกำหนดจำนวนการตอบคำถามของผู้ถามหรือลูกค้าว่าแชตบอตจะมีลิมิตในการตอบคำถามต่อคนจำนวนเท่าไหร่ต่อวัน โดยเมื่อถึงจำนวนที่กำหนดแล้ว แชตบอตจะไม่ตอบคำถามให้
เคล็ดลับ : การเปิดใช้งานลิมิตการตอบคำถามต่อคนในจุดนี้จะช่วยทำให้คุณประหยัดจำนวนการตอบคำถาม (โควตาการตอบคำถาม) ได้ด้วยนะ